เมื่องานวนลูป สร้างความเบื่อและความเครียด


ตำแหน่งงาน (ที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มี...)


Loop, How to exit?

















1. ทำไมต้องมีตำแหน่งนี้ ทำไมต้องใช้กฎหมายบังคับ

เพราะนายจ้างไม่คิดจะทำ หรือเห็นความสำคัญว่าต้องทำเรื่องนี้ควบคู่กับการขายสินค้า/บริการ
หากเราเห็นว่าสิ่งไหนสำคัญ/มีประโยชน์ เราจะทำสิ่งนั้นทันทีไม่ต้องให้ใครมาสั่ง ไม่ต้องรอกฎหมายบังคับ
และถึงแม้จะไม่รู้ว่าต้องทำยังไง หากตัดสินใจว่าจะทำ/แก้ไขปัญหาแล้ว สุดท้ายเราก็จะพยายามหาทางจนเจอ หาวิธี หาคน มาทำจนได้... 

ปัญหาแท้จริง คือ คนที่ต้องทำ ไม่คิดจะทำ ไม่มีใจ(ที่คิดจะทำ)
ปัญหาปลายทาง คือ ไม่มีคนมาลงมือทำ ไม่มีความรู้ ไม่มีวิธีการ ไม่มีงบประมาณ ไม่มีเวลา...

2. ทำไมมีกฎหมายออกมาบังคับใช้แล้วมากมาย แต่ดูเหมือนว่าไม่ช่วยอะไร หากมองจากมุมผลลัพธ์ 

กฎหมาย
ออกมาบังคับใช้ในภาพรวม เป็นขั้นพื้นฐานที่ต้องจัดให้มี และหวังว่าหากทำตามแล้วจะหวังผลลัพธ์ที่ดีได้  แต่เอาจริง ๆ ถ้าใครทำตามกฎหมายได้หมด 100% เลย เป๊ะมาก ผลลัพธ์ที่ได้ ดีจริงมั้ย
เพราะสภาพงานจริง ไม่เหมือนกัน มีหลายเหตุหลายปัจจัยเกี่ยวข้องมาก แต่ละที่ไม่เหมือนกันเลย
คงคาดหวังไม่ได้หรอก ว่าแค่ทำตามกฎหมายแล้วจะดี อาจมีทำเพิ่มเติมบ้างในบางสิ่งบางรายละเอียดที่กฎหมายไม่ได้มีกำหนดไว้ 
แต่ก็น่าแปลกที่บางแห่ง ทำสิ่งที่กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่ต้องทำคือ กฎหมายนั้น บอกว่าทำได้ยาก เป็นไปไม่ได้ตามหน้างาน...ก็เข้าใจได้เป็นบางเรื่องบางกรณีไป
แต่ถ้าทำตามกฎหมายไม่ได้เป็นส่วนใหญ่แล้ว มักพบว่าเป็นเพียงข้ออ้างเท่านั้น...
ส่วนเนื้อหากฎหมายนั้น ยอมรับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดทิศทาง บ้างให้ความชัดเจน บ้างให้ความสงสัย ไม่รู้จะต้องทำตามกันยังไง ออกฉบับแม่สั่งมาแล้วว่าต้องทำโน่น นี่ นั่น อ้าวแล้วมาตรฐานวิธีการ บุคคลที่จะทำล่ะ ไม่บอกมาด้วย นู่น...อีก 2-5 ปี ถึงออกตามมา บางเรื่องก็ยังไม่เห็นวี่แวว...
อย่าว่าแต่คนที่ต้องทำตามเลยที่งง  คนที่ต้องบังคับใช้กฎหมายเองก็งงไม่แพ้กัน อย่าคาดหวังว่าจะเข้าใจ100%  และการบังคับใช้กฎหมายในไทยก็เหมือนกับ เส้นใยของแมงมุม ที่จับได้เฉพาะแมลงตัวเล็ก เพราะตอนนี้แมลงตัวใหญ่...แมงมุมกลัว ก็มันมีกรรไกรตัดเส้นใยแมงมุมทำให้ไม่มีที่อยู่ด้วยซ้ำไป

ความพร้อมของสิ่งสนับสนุน
บุคคล/นิติบุคคลที่มีความรู้ อุปกรณ์สิ่งของเครื่องมือที่มีมาตรฐาน
มีน้อย ราคาแพง เป็นสิ่งหายาก บางอย่างกฎหมายกำหนดควบคุมมาตรฐานหวังไว้ว่าจะดี
แต่ก็นั่นแหละ โลกแห่งความจริงใบสีเทาๆ นี้ ผลประโยชน์/ความถูกต้องบางครั้งก็เป็นเส้นบาง ๆ

3. ทำไมคนในวงการอยากออก คนนอกอยากเข้า หรือคนในอยากอยู่ไปนาน ๆ 

เพราะงานที่ทำมันเกี่ยวกับทุกคน ทำคนเดียวไม่ได้ ทำแล้วไม่จบ เมื่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องเปลี่ยน...
ผู้บริหาร เศรษฐกิจ เครื่องจักรอุปกรณ์ คนทำงาน กฎหมาย... ระบบงานก็ต้องเปลี่ยนด้วย
จึงเป็นเหมือนงานวนลูป ทำไม่จบ เหมือนจะดีแล้ว อ้าว...กลับไปเริ่มจุด start ใหม่ set 0 อีกครั้ง
เหนื่อย...
จริง ๆ คำว่า วิชาชีพ โดยความเข้าใจทั่วไปมันหมายความว่า ไม่ใช่ใครก็ทำได้ 
ต้องผ่านกระบวนการผลิต วัดคุณภาพว่าได้ตามมาตรฐานมั้ย นอกจากนี้ก็จะมี
คำว่า จรรยาบรรณ เพิ่มเข้ามาด้วย หากเราจะปลูกฝังให้เกิดขึ้นในคน ๆ นึง ต้องใช้เวลาเท่าไหร่...
คงไม่ใช่ 3 วัน 7 วัน 1 เดือน แน่ ๆ ยังไม่ซาบซึ้งหรอก...
แต่ทุกอย่างก็มีข้อยกเว้นเหมือนกัน เวลาเปลี่ยน สภาพแวดล้อมเปลี่ยน อาจมีผลทำให้
ทัศนคติ/จรรยาบรรณ ของคนเปลี่ยนได้เช่นกัน จรรยาบรรณสร้างขึ้นได้ก็ย่อมถูกทำลายได้เช่นกัน

ดังนั้นปัญหาใหญ่ไม่ได้อยู่ที่ว่า ใครบ้าง เหมาะสมหรือควรจะทำงานนี้
สิ่งที่น่าคิดและน่าทำกว่า คือ 
1. เราจะทำอย่างไร ให้คนที่ต้องทำ มีใจคิดจะทำ
2. เราจะพัฒนาคนทำงาน ให้ได้มาตรฐานตามวิชาชีพและคงไว้ซึ่งจรรยาบรรณได้อย่างไร
3. เราจะมีกฎหมายที่ใช้การได้จริง ทำตามแล้วมีประโยชน์ เกิดผลลัพธ์ดีจริง ๆ ได้อย่างไร
4. เราจะพัฒนาและยกระดับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและเครือข่ายเชิงวิชาการ เทคโนโลยี
    ให้สามารถเข้าถึงได้ มีหลากหลาย ราคาไม่แพง ผลิตเองมีมาตรฐานใช้การได้
    ไม่ต้องรอสั่งอุปกรณ์เครื่องมือแพง ๆ จากเมืองนอกได้อย่างไร
5. เราจะพัฒนาบุคลากรภาครัฐ ให้มีความสามารถทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
    และสามารถให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ นำไปใช้ได้จริง ได้อย่างไร
6. เราจะสร้างระบบเครือข่ายของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมี
   ประสิทธิภาพ โดยไม่มีเส้นแบ่งของคำว่า ที่มา สถานะ ผลประโยชน์ ได้อย่างไร 

ถ้าตอบคำถาม 6 ข้อนี้ได้และนำไปใช้ได้จริง งานนี้จะไม่ วนลูป อีกต่อไป
อย่าคาดหวัง อย่ารอให้ใครมาตอบ เราสามารถคิดและตอบคำถามเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง
หากเราเกี่ยวข้องในข้อไหน เราปรับวิธีคิด ปรับวิธีการทำงานของตัวเราเองก่อน 
อย่าฝากความหวังไว้ที่คนอื่น...รับผิดชอบชีวิตตัวเอง 100% ดีกว่า